โรคข้อเข่าเสื่อม

ปวดเข่า ข้อเข่าเสื่อม วินิจฉัยและรักษาได้อย่างไร?

โรคข้อเข่าเสื่อม

โดย ผศ.นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์

คือภาวะที่มีการสึกกร่อนของผิวข้อเข่าทำให้การเคลื่อนไหวของข้อเข่าไม่เรียบ มีการเสียดสีของกระดูก เป็นกระบวนการเสื่อมตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ

อาการของข้อเข่าเสื่อมมีอะไรบ้าง?

  • ปวดเมื่อมีการเคลื่อนไหวของข้อเข่า บางครั้งอาจจะมีอาการปวดและรู้สึกตึงบริเวณข้อพับด้านหลังของเข่า
  • อาการบวมบริเวณข้อเข่า เนื่องจากมีน้ำในข้อเข่าซึ่งเกิดจากการอักเสบภายในข้อ
  • ข้อยึดติด และไม่สามารถเหยียดงอเข่าได้เหมือนปกติ
  • มีอาการเสียวภายในข้อเวลาเดิน บางครั้งมีอาการอ่อนแรง ต้นขาลีบ
  • ขาโก่งผิดรูป

ปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้างที่ทำให้เกิดข้อเข่าเสื่อม?

มีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม ซึ่งได้แก่

  • พันธุกรรม โดยมีหลักฐานปรากฏบางอย่างที่เชื่อว่ามีความผิดปกติทางพันธุกรรม ในการทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม
  • น้ำหนัก น้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้เข่าต้องรับน้ำหนักมากขึ้นกว่าปกติ
  • อายุ เมื่ออายุมากขึ้นความสามารถในการซ่อมแซมตัวเองของผิวข้อกระดูกอ่อนก็ลดน้อยลง ทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมได้ง่ายขึ้น
  • เพศ ผู้หญิงอายุมากกว่า 50 ปี มีโอกาสเกิดข้อเข่าเสื่อมมากกว่าผู้ชาย
  • เคยได้รับอุบัติเหตุที่บริเวณข้อเข่ามาก่อน รวมถึงได้รับอันตรายจากการเล่นกีฬา เช่น หมอนรองกระดูกเข่าฉีกขาด
  • เล่นกีฬาที่มีแรงกระทบต่อเข่ามากๆ เช่น ฟุตบอล, นักวิ่งมาราธอน, เทนนิส

รู้ได้อย่างไรว่าเราเป็นข้อเข่าเสื่อมหรือไม่ ?

แพทย์สามารถให้การวินิจฉัยภาวะโรคของข้อเข่าเสื่อม

  1. อาการของผู้ป่วยที่มีอาการปวด ร่วมกับการตรวจร่างกายที่พบความผิดปกติของข้อเช่น ขาโก่งผิดรูป
  2. ภาพถ่ายเอกซเรย์ ที่พบมีการแคบลงของข้อเข่าซึ่งเกิดจากการสึกกร่อนของผิวข้อ, มีกระดูกงอกรอบๆข้อ

เมื่อเป็นข้อเข่าเสื่อมแล้วจะมีวิธีการรักษาอย่างไร?

อย่างแรกสุดต้องรักษอาการปวด อาการปวดจากโรคข้อเข่าเสื่อมเกิดได้จากหลายสาเหตุขึ้นอยู่กับระยะของโรค ดังนั้นการรักษาต้องปรับตามแต่ละบุคคล การรักษาส่วนใหญ่คือ

  1. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ป่วย เช่น หลีกเลี่ยงการนั่งพับเพียบ, นั่งท่าขัดสมาธิ, การลดน้ำหนัก, หลีกเลี่ยงการยกของหนัก, หรือการใส่เครื่องช่วยพยุงเข่า
  2. การใช้ยา ซึ่งมีการใช้ยา 2 กลุ่มคือ
    – ยาลดปวด และลดการอักเสบภายในข้อเข่า
    – ยากลูโคซามีน ซึ่งมีฤทธิ์ เสริมสร้างกระดูกอ่อน, ช่วยการหล่อลื่นของข้อ ทำให้ยับยั้งหรือลดกระบวนการทำลายของข้อ
  3. การบริหารเข่า (ดูรายละเอียดในส่วนกายภาพบำบัดของโรคข้อเข่าเสื่อม)
  4. การฉีดยาเข้าข้อเข่า
    – สารน้ำหล่อเลี้ยงข้อเข่า ทำให้ลดอาการปวดเข่าลงได้ และสามารถเคลื่อนไหวข้อเข่าได้ดีขึ้น
    – ยาสเตียรอยด์ มักฉีดเข้าไปยังบริเวณข้อเข่าที่มีอาการปวดมากๆ ซึ่งมักเป็นระยะสุดท้ายของโรคข้อเข่าเสื่อม ยานี้มักจะลดอาการปวดได้นานประมาณ 3 เดือน อย่างไรก็ตามยาสเตียรอยด์มีผลทำเสียต่อกระดูกอ่อนของผิวข้อโดยตรงเช่นกันดังนั้นจึงไม่ควรฉีดยาเข้าข้อบ่อยครั้ง
  5. การผ่าตัด ซึ่งมีทั้งการผ่าตัดด้วยการส่องกล้องล้างข้อเข่า, การผ่าตัดเปลี่ยนข้อ
Message us

Sanpakoi Clinic ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า