โรคนิ้วล็อค

โรคนิ้วล็อค
โดย ผศ.นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์

โรคนิ้วล็อคติดเป็นภาวะหนึ่งที่ทำให้นิ้วมือล็อคติดอยู่ในท่างอ เวลาเหยียดนิ้วให้ตรงอาจจะมีการสะดุดของนิ้ว ถ้าเป็นมากนิ้วจะล็อคติดอยู่ในท่างอ ไม่สามารถเหยียดตรงได้ บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยจะมีอาการปวดร่วมด้วย

สาเหตุของนิ้วล็อคเกิดจากอะไร?

สาเหตุของนิ้วล็อคเกิดเนื่องจากมีการแคบลงของปลอกหุ้มเอ็นที่อยู่ล้อมรอบเส้นเอ็นอยู่ โดยปกติปลอกหุ้มเส้นเอ็นนี้จะมีการปล่อยสารหล่อลื่นให้เส้นเอ็นสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างนุ่มนวล ถ้ามีการอักเสบของปลอกหุ้มเส้นเอ็นจากการได้รับบาดเจ็บ การใช้งานมากเกินไปเช่นการบิดผ้าแรงๆ หรือสาเหตุที่มีการอักเสบอื่นๆเช่นในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ จะทำให้ช่องว่างที่อยู่ระหว่างเส้นเอ้น และปลอกหุ้มเส้นเอ็นนี้แคบลง และถูกกดรัด เส้นเอ็นไม่สามารถเคลื่อนไหวผ่านปลอกหุ้มเอ็นนี้ได้ง่ายเหมมือนแต่ก่อน ทำให้นิ้วล็อคติดในท่างอก่อนที่จะสามารถเหยียดตรงได้ ในแต่ละครั้งที่มีการเคลื่อนไหวของเส้นเอ็นและนิ้วล็อคจะทำให้เกิดการอักเสบที่บริเวณเส้นเอ็นอีก ทำให้อาการแย่ลงมากกว่าเดิม ถ้ามีการอักเสบเป็นระยะเวลานาน ทำให้เกิดพังผืดขึ้นสามารถคลำได้เหมือนเป็นก้อนที่บริเวณฝ่ามือของนิ้วที่มีอาการ

ปัจจัยเสี่ยง

ถ้าท่านต้องใช้มือในการทำกิจกรรมโดยการกำ หยิบจับอยู่ตลอดเวลาเช่น หยิบเจ็บเล่นเครื่องดนตรี ใช้เครื่องมือที่มีการสั่นสะเทือนเป็นระยะเวลานาน ท่านอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนิ้วล็อค นอกจากนี้ยังพบอุบัติการณ์ของโรคนิ้วล็อคเพิ่มขึ้นในผู้ป่วยโรค เบาหวาน โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคนิ้วล็อคมักพบมากในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

การรักษา
การรักษามีหลายวิธีทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค และระยะเวลาที่เป็น

  • ถ้าอาการไม่รุนแรง หรืออาการเป็นไม่บ่อย การรักษาดังต่อไปนี้อาจให้ผลดี
  • หยุดพักการใช้มือข้างที่เป็น เพื่อป้องกันการใช้งานมากเกินไปของนิ้วข้างที่เป็น
  • ใช้เครื่องพยุงนิ้วมือ โดยช่วยให้ข้อไม่ทำงานมากเกินไป
  • บริหารนิ้วมือในน้ำอุ่น โดยการแช่นิ้วมือในน้ำอุ่นนานประมาณ 5-10 นาทีในตอนเช้า ซึ่งอาจจะช่วยลดอาการนิ้วล็อคลงได้
  • ถ้าอาการรุนแรงมาก
  • รับประทานยาลดการอักเสบ เพื่อลดการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็น
  • การใช้สเตียรอยด์ฉีดเข้าไปในปลอกหุ้มเอ็นซึ่งช่วยลดการอักเสบ การรักษาด้วยวิธีนี้ได้ผลดีในผู้ป่วยที่เริ่มต้นเป็น
  • การรักษาด้วยการผ่าตัดเอาเยื่อพังผืดออก ขนาดแผลประมาณ 1-2 เซนติเมตร เมื่อรักษาด้วยวิธีที่กล่าวมาข้างต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้น
Message us

Sanpakoi Clinic ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า