ปวดหลัง รักษาได้ไม่ผ่าตัด
โดย ผศ.นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์
อาการปวดหลัง นับว่าเป็นปัญหาสำคัญพบได้บ่อยที่สุดของโรคกระดูกและข้อสามารถเกิดขึ้นกับคนทุกวัย ตั้งแต่วัยหนุ่มสาว วัยทำงานจนถึงวัยผู้สูงอายุสาเหตุของอาการปวดหลังในวัยหนุ่มสาวและวัยทำงานส่วนใหญ่มักเกิดจากหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนกดทับเส้นประสาทและพฤติกรรมการจัดท่าในการทำงานที่ไม่ถูกต้อง การยกของไม่ถูกวิธีส่วนในวัยผู้สูงอายุสาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมกระดูกข้อต่อระหว่างกระดูกสันหลังมีการอักเสบเกิดกระดูกงอกเนื่องจากการเสื่อมมากดทับเส้นประสาททำให้เกิดอาการปวดหลังร้าวลงไปที่บริเวณสะโพก บริเวณด้านหลังของต้นขาและบางครั้งอาจมีการปวดร้าวลงบริเวณน่อง ร่วมกับมีอาการชาบริเวณหลังเท้าและส้นเท้าร่วมด้วย ทำให้ผู้ป่วยทนทุกข์ทรมานจากอาการปวดมีผลต่อการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเมื่อท่านมีอาการและอาการแสดงเกี่ยวกับอาการปวดหลังมีสัญญาณเตือนบางอย่างที่ทำให้ท่านต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายหรืออาจจำเป็นต้องตรวจวินิจฉัยพิเศษเพิ่มเติม ได้แก่ มีอาการไข้เมื่อรักษาด้วยการรับประทานยาแก้ปวดแล้วอาการไม่ดีขึ้นผู้ที่มีประวัติเคยเป็นโรคมะเร็งมาก่อนมีอาการปวดหลังร่วมกับมีปัสสาวะเล็ดหรือไม่สามารถกลั้นอุจจาระและปัสสาวะได้มีอาการอ่อนแรงของขา หรือเสียสมดุลของร่างกายมีอาการปวดหลังมากตอนกลางคืนหรือมีอาการปวดมากแม้ไม่ได้ทำงานหรือน้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ เป็นต้น
การรักษาอาการปวดหลัง ทำได้โดย
- การปฏิบัติตัวต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่จะทำให้มีอาการปวดหลังเพิ่มมากขึ้น ได้แก่การนั่งกับพื้น การก้มยกของหนักเพราะน้ำหนักของร่างการส่วนใหญ่จะลงตรงบริเวณกระดูกสันหลังส่วนเอวทำให้เกิดการอักเสบของกระดูกข้อต่อบริเวณกระดูกสันหลังทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดเพิ่มมากขึ้นการใช้เก้าอี้นั่งควรใช้ชนิดที่มีพนักพิงหลังเพราะจะช่วยลดแรงที่กระทำต่อกระดูกข้อต่อบริเวณสันหลังส่วนเอวการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นการแก้ที่สาเหตุของอาการปวดเพราะถ้าผู้ป่วยไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมทั้งการลดน้ำหนักตัวอาการปวดของผู้ป่วยก็มักจะไม่ทุเลาลงและถึงแม้ว่าจะรับการรักษาด้วยการผ่าตัดในที่สุดผู้ป่วยก็จะกลับมามีอาการปวดอีกครั้งหนึ่ง
- การใช้ยาลดอาการปวด และยาต้านการอักเสบ ชนิดรับประทาน เพื่อบรรเทาอาการปวด
- การใช้ยาสเตียรอยด์ร่วมกับยาชาเฉพาะที่ฉีดเข้าไปยังช่องว่างโพรงประสาทบริเวณกระดูกก้นกบ โดยการใช้เครื่องอัลตราซาวด์ช่วยในการระบุตำแหน่งที่ฉีดทำให้การฉีดยาเข้าโพรงประสาทมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้นและสามารถทำได้โดยไม่ต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล จากการศึกษาวิจัยในผู้ป่วยที่มีหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมกดทับเส้นประสาท ของ ผศ.นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์ พบว่าร้อยละ 90 ของผู้ป่วยมีอาการปวดลดลงเป็นอย่างมากภายหลังการติดตามผลการรักษาเป็นระยะเวลา 3 เดือน นอกจากนี้ยังช่วยให้การทำงานกิจวัตรประจำวัน และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น ช่วยบรรเทาอาการปวดทำให้ผู้ป่วยทำกายภาพบำบัดได้สะดวกมากขึ้นสามารถลดอุบัติการณ์การผ่าตัดกระดูกสันหลังให้ผู้ป่วยได้ กลไกในการลดอาการปวดจากการฉีดยาสเตียรอยด์จะช่วยลดการบวมการอักเสบของเส้นประสาทที่ถูกกดทับทำให้การไหลเวียนของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงที่บริเวณเส้นประสาทบริเวณกระดูกสันหลังดีขึ้น เส้นประสาทยุบบวมจากการอักเสบจึงทำให้อาการปวดหลังของผู้ป่วยดีขึ้น การฉีดยาสเตียรอด์ชนิดฉีดเฉพาะที่เข้าไปยังช่องว่างของเส้นประสาทบริเวณกระดูกสันหลังเป็นวิธีการที่ใช้บ่อยในการรักษาอาการปวดหลังร่วมกับอาการปวดร้าวลงขา นอกจากนี้การฉีดยายังจะช่วยลดอาการชาและอาการอ่อนแรงอันเนื่องมาจากการอักเสบของเส้นประสาทได้ ยาที่ฉีดเข้าไปเป็นยาสเตียรอยด์ชนิดฉีดเฉพาะที่ร่วมกับยาชาซึ่งตัวยาจะไปอยู่รอบๆเส้นประสาทที่อยู่ภายในโพรงกระดูกสันหลัง ยาชาอาจจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกชาในช่วงแรกประมาณ 1-6 ชั่วโมง คุณสมบัติที่สำคัญของยาสเตียรอยด์คือเป็นยาที่มีฤทธิ์การลดการอักเสบที่ดีมากเมื่อฉีดยาสเตียรอยด์เข้าไปในตำแหน่งของเส้นประสาทที่มีการอักเสบและบวม ยานี้จะช่วยลดการอักเสบเป็นอย่างมากจะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดให้แก่ผู้ป่วยการ ลดการบวมของเส้นประสาทช่วยลดอาการชาและอาการอ่อนแรง
รูปภาพแสดงการฉีดยาชาร่วมกับสตียรอยด์ชนิดฉีดเฉพาะที่เข้าไปในบริเวณโพรงประสาท บริเวณกระเบนเหน็บเพื่อลดการอักเสบของเส้นประสาท ร่วมกับช่วยสลายพังผืดที่โอบรัดเส้นประสาท
- การฉีดยาสเตียรอยด์นี้จะมีผลช่วยบรรเทาอาการปวดชั่วคราวขึ้นอยู่กับลักษณะความรุนแรงของโรคในแต่ละบุคคล ซึ่งอาจมีฤทธิ์อยู่ได้ประมาณ 1-3เดือนซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการปวดให้ผู้ป่วยทำให้ผู้ป่วยสามารถทำกายภาพบำบัดได้ง่ายสะดวกมากยิ่งขึ้นนอกจากนี้ยังช่วยให้ร่างกายสามารถซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้ เช่นในกรณีของโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนกดทับเส้นประสาทจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดมากในระยะแรกอันเนื่องมาจากสารเคมีที่อยู่ภายในเนื้อของหมอนรองกระดูกสันหลังที่ฉีกขาดเป็นตัวการที่สำคัญในการทำให้เกิดกระบวนการอักเสบมักจะใช้ระยะเวลาหลายสัปดาห์ในการที่หมอนรองกระดูกเกิดการซ่อมแซมตนเองจนกระทั่งไม่มีการรั่วของสารเคมีออกมาระคายเคืองต่อเส้นประสาทซึ่งยาสเตียรอด์ชนิดฉีดเฉพาะที่จะช่วยลดอาการปวดเมื่อเริ่มต้นและทำให้อาการต่างๆของผู้ป่วยทุเลาลงเป็นอย่างมากวิธีการนี้เหมาะสมเป็นอย่างมากสำหรับผู้ป่วยที่ไม่ต้องการรักษาด้วยการผ่าตัดกระดูกสันหลังหรือมีความเสี่ยงสูงจากการผ่าตัดตัวอย่างเช่นในผู้ป่วยสูงอายุที่มีปัญหาเรื่องของโรคช่องทางเดินของโพรงประสาทตีบตัน (spinal stenosis) อันเนื่องมาจากกระบวนการเสื่อมของกระดูกสันหลังซึ่งจะทำให้ช่องทางเดินประสาทตีบตันมีผลทำให้เกิดการอักเสบของเส้นประสาทที่อยู่ภายในโพรงของกระดูกสันหลังทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวด ชา ปวดร้าวลงขาการรักษาด้วยวิธีการยาสเตียรอด์ชนิดฉีดเฉพาะที่เข้าไปในโพรงประสาทจะช่วยลดการอักเสบ และลดการบวมของเส้นประสาทรวมทั้งลดความดันที่เกิดขึ้นต่อเส้นประสาทจะทำให้บรรเทาอาการปวดและอาการชาแก่ผู้ป่วยลงได้นอกจากนี้ยังใช้ได้ผลดีในกรณีที่ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดแล้วยังมีอาการปวดหลังและอาการปวดชาร้าวลงขาซึ่งพยาธิสภาพที่เกิดหลังผ่าตัดคือการมีพังผืดไปกดรัดเส้นประสาทหลังจากการผ่าตัดทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดหลังร่วมกับอาการปวดร้าวลงขาอยู่การฉีดยาสเตียรอด์ชนิดฉีดเฉพาะที่จะเป็นการช่วยแยกสลายพังผืดที่กดรัดรอบๆเส้นประสาท และลดการอักเสบของเส้นประสาทและเนื้อเยื่ออ่อนที่อยู่รอบๆทำให้ช่วยลดอาการปวดให้แก่ผู้ป่วยอีกทางหนึ่งด้วย
- การทำกายบริหารและการยืดกล้ามเนื้อจะช่วยทำให้กล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่นเพิ่มมากขึ้นอาการปวดหลังเป็นปัญหาที่สำคัญดังนั้นการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทั้งในเรื่องของการนั่งทำงานที่ไม่ถูกต้อง การยกของที่ไม่ถูกวิธีการรักษาด้วยการใช้ยารับประทานในผู้สูงอายุควรระวังการใช้ยาในกลุ่มต้านการอักเสบเพื่อลดอาการปวด เพราะจะทำให้มีผลต่อกระเพาะอาหารทำให้ปวดท้องและบางครั้งอาจทำให้เลือดออกในกระเพาะอาหารได้การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงประสาทโดยการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงบอกตำแหน่งนับว่าเป็นทางเลือกหนึ่งของการรักษาแบบประคับประคองเพื่อหลีกเลี่ยงการผ่าตัดที่ไม่จำเป็นแนวทางในการรักษา ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังเรื้อรังอาการปวดหลังร้าวลงขาอาการชาที่มีประโยชน์อย่างหนึ่งโดยไม่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดคือการฉีดยาสเตียรอด์ชนิดฉีดเฉพาะที่เข้าไปยังช่องว่างของเส้นประสาทบริเวณโพรงกระดูกสันหลังการฉีดยาจะมีประโยชน์อย่างมากในการลดการอักเสบและการบวมของเส้นประสาทการรักษาด้วยการฉีดยานี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือการควบคุมบรรเทาอาการปวดหลังและปวดขาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาแบบประคับประคองเพื่อลดอุบัติการณ์การผ่าตัดให้แก่ผู้ป่วย
การพยากรณ์โรคและคำถามสำหรับการฉีดยา
หลังจากฉีดยาแล้วส่วนใหญ่อาการปวดจะบรรเทาลงในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังฉีดยา หลังจากนั้นอาจจะเริ่มมีอาการปวดขึ้นมาอีกครั้งแต่จะเป็นไม่มากเหมือนกับที่ ปวดในช่วงแรก ต่อจากนั้นก็สามารถใช้ยารับประทาน เพื่อควบคุมอาการปวดได้
ความถี่ในการฉีดยาและผลข้างเคียงนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณของยาสเตียรอยด์ที่ใช้ รวมถึงความเชี่ยวชาญของแพทย์ผู้ทำการรักษา ซึ่งโดยปกติแล้วปริมาณยาที่ผมใช้มีปริมาณประมาณ 10-20 มิลลิกรัมของยาสเตียรอยด์ ซึ่งถือว่าน้อยมาก เพราะ ร่างกายของคนเราสามารถรบปริมาณยาสเตียรอยด์ได้ประมาณ 400 มิลลิกรัมต่อปี ที่ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงต่อระบบไร้ท่อของร่างกายครับ เทียบกับในอดีตที่มีการฉีดยาในปริมาณที่สูง ซึ่งจากผลของงานวิจัยที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่พบว่าปริมาณยาที่น้อย ได้ผลดีเทียบเท่ากับการใช้ยาในปริมาณที่มาก ดังนั้นสำหรับผมเองการฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงประสาทในปัจจุบันจะใช้ยา ปริมาณเพียงเล็กน้อย ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อระบบต่อมไร้ท่อของร่างกายให้เกิดการเปลี่ยนแปลง จึงสามารถฉีดยาได้บ่อยและถี่ขึ้นตามอาการของผู้ป่วย
ส่วนใหญ่หลังฉีดอาการมักจะดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์ ถ้าไม่ดีขึ้นแสดงว่าน่าจะมีหมอนรองกระดูกขนาดใหญ่มากดทับเส้นประสาท ทำให้เส้นประสาทบวมมาก ถ้าไม่ดีขึ้นจริงๆ อาจจะต้องตรวจ MRI เพิ่มเติม เพื่อดูว่าหมอนรองกดมากหรือเปล่า และอาจจะลองฉีดยาซำ้อีก 5-6 ครั้งร่วมกับการปรับยารับประทาน ถ้าไม่ดีขึ้นจริงๆถึงจะพิจารณารักษาดวยการผ่าตัดครับ
การรักษาปวดหลัง โดยไม่ผ่าตัด ส่วนใหญ่ใช้ระยะเวลาประมาณ 5-6 เดือน ประมาณ 80% ผู้ป่วยอาการดีขึ้นโดยไม่ต้องผ่าตัดครับ แต่มีโอกาสกลับมาเป็นอีกครั้ง เพราะเป็นกระบวนการเสื่อมของร่างกาย การฉีดยาสามารถฉีดซำ้ได้ตามอาการ ยาที่ฉีดเป็นยาสเตียรอยด์ เป็นยาปริมาณตำ่ๆ ไม่มีอันตรายต่อร่างกาย จำนวนครั้งของการฉีดยาจะได้ผลหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของโรค ที่เป็น การกดทับของเส้นประสาทมากหรือน้อยเพียงใด ถ้ากดมากๆๆ การฉีดยาอาจจะไม่ได้ผลดี ส่วนใหญ่จะแนะนำให้รักษาด้วยวิธีการไม่ผ่าตัดก่อน ถ้ารักษาไปแล้วประมาณ 5-6 เดือนถึง 1 ปี อาการไม่ดีขึ้นเลย หรือมีอาการปัสสาวะลำบาก ก็อาจจะพิจารณาให้การรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อเอาส่วนที่มีการกดทับเส้น ประสาทออก
การรักษาได้ผลมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับ
1. โรคที่เป็น ว่ามีการกดทับเส้นประสาทมากน้อยเพียงใด ถ้ากดมาก หรือมีพังผืดไปรัดมากก็ไม่ค่อยได้ผลครับ ถ้าเป็นน้อยก็ได้ผลดี
2. พฤติกรรมการปฏิบัติตัว ปวดหลัง ป้องกันได้โดยปรับพฤติกรรม
3. นำ้หนักของผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยมีนำ้หนักมากก็จะทำให้มีผลต่อการเกิดแรงกดที่กระดูกข้อต่อสันหลัง เพิ่มมากขึ้น ทำให้มีอาการปวดและรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นจึงควรลดนำ้หนัก และปฏิบัติตนให้ถูกต้องเพื่อป้องกันการเกิดโรคกระดูกและข้อ
หลังจากฉีดยาแล้วส่วนใหญ่อาการปวดจะบรรเทาลงในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังฉีดยา หลังจากนั้นอาจจะเริ่มมีอาการปวดขึ้นมาอีกครั้งแต่จะเป็นไม่มากครับ ต่อจากนั้นก็สามารถใช้ยารับประทาน เพื่อควบคุมอาการปวดได้ครับ
สอบถามปัญหาสุขภาพกระดูกและข้อได้ที่
Line OA: https://lin.ee/swOi91Q หรือ Line ID search @DoctorKeng
Website: www.taninnit.com
YouTube: https://www.youtube.com/results?search_query=taninnit+leerapun
Facebook: หมอเก่งไขปัญหาปวดกระดูกและข้อ
Blockdit: https://www.blockdit.com/doctorkeng