การบริหารกล้ามเนื้อต้นขาสำหรับผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม
โดย ผศ.นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์
ในผู้ที่มีปัญหาข้อเข่าเสื่อมพบว่าความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขาลดลงเมื่อเทียบกับคนปกติซึ่ง เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการข้อเข่าเสื่อมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า (Quadriceps) ถ้ามีความแข็งแรงลดลงจะทำให้เพิ่มแรงที่กระทำต่อข้อเข่า แต่ละกิจกรรมของการเคลื่อนไหวส่งผลทำให้เกิดอาการปวดเข่าเพิ่มขึ้นทำให้ไม่สามารถใช้งานข้อเข่าได้ตามปกติ
ดังนั้นผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมจึงควรออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาด้านหน้า รวมทั้งออกกำลังกายเพื่อเสริมการทำงานที่ประสานสัมพันธ์กันระหว่างกล้ามเนื้อขาด้านหน้า ด้านหลัง กล้ามเนื้อก้นและกล้ามเนื้อน่องซึ่งใกล้เคียงกับท่าทางในการทำกิจวิตรประจำวัน
การออกกำลังกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า (Quadriceps)
1. เกร็งกล้ามเนื้อต้นขาพร้อมกับยกขาขึ้น (Isometric straight leg life)

2. เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าขาช่วงสุดท้ายของการเหยียดเข่า

เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าขาช่วงสุดท้ายของการเหยียดเข่าโดยใช้น้ำหนักเป็นแรงต้าน

3. เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าขาช่วงกลางของการเหยียดเข่า

4. เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาทั้งหมดโดยวิธีการขึ้นลงบันไดเป็นการฝึกความแข็งแรง ความทนทานของกล้ามเนื้อขารวมทั้งความทนทานของระบบหัวใจและหลอดเลือด

5. เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาและก้นโดยมุ่งเน้นให้เกิดการทำงานที่ประสานสัมพันธ์กันของกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า ข้อสะโพกและข้อเท้า

การยืดกล้ามเนื้อขาด้านหลัง

การยืดกล้ามเนื้อน่อง

หนังสืออ้างอิง
O’Reilly SC, Jones A, Muri KR, Doherty M. Quadricep weakness in knee osteoarthritis:the effect on pain and disability.Ann rheum dis 1998,57:588-594.
Evcik D, Sonel B. Effectiveness of a home-based exercise therapy and walking program on osteoarthritis of the knee.Rheumatol Int 2002;22:103-106.
Hall CM, Brody TL. Therapeutic exercise moving toward function. Philadephia. Lippincott Wiliams&Wilkins 2005. 2nd;488-514.