ปวดหลัง รักษาอย่างไร ไม่ผ่าตัด

ปวดหลัง รักษาอย่างไร ไม่ผ่าตัด

โดย ผศ.นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์

อาการปวดหลัง นับว่าเป็นปัญหาสำคัญพบได้บ่อยที่สุดของโรคกระดูกและข้อสามารถเกิดขึ้นกับคนทุกวัย ตั้งแต่วัยหนุ่มสาว วัยทำงานจนถึงวัยผู้สูงอายุ

สาเหตุ : ส่วนใหญ่มักเกิดจากหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมกระดูกข้อต่อระหว่างกระดูกสันหลังมีการอักเสบเกิดกระดูกงอกเนื่องจากการเสื่อมมากดทับเส้นประสาท

อาการ : ปวดหลังร้าวลงไปที่บริเวณสะโพก บริเวณด้านหลังของต้นขาและบางครั้งอาจมีการปวดร้าวลงบริเวณน่อง ร่วมกับมีอาการชาบริเวณหลังเท้าและส้นเท้าร่วมด้วย

สัญญาณเตือนบางอย่างที่ทำให้ท่านต้องรีบไปพบแพทย์ : อาการไข้ มีประวัติเคยเป็นโรคมะเร็งมาก่อน ปัสสาวะเล็ดหรือไม่สามารถกลั้นอุจจาระและปัสสาวะได้ มีอาการอ่อนแรงของขา ปวดหลังมากตอนกลางคืนหรือมีอาการปวดมากแม้ไม่ได้ทำงานหรือน้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ

การรักษาอาการปวดหลัง :

  • การปฏิบัติตัวต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่จะทำให้มีอาการปวดหลังเพิ่มมากขึ้น ได้แก่การนั่งกับพื้น การก้มยกของหนักเพราะน้ำหนักของร่างการส่วนใหญ่จะลงตรงบริเวณกระดูกสันหลังส่วนเอวทำให้เกิดการอักเสบของกระดูกข้อต่อบริเวณกระดูกสันหลังทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดเพิ่มมากขึ้นการใช้เก้าอี้นั่งควรใช้ชนิดที่มีพนักพิงหลังเพราะจะช่วยลดแรงที่กระทำต่อกระดูกข้อต่อบริเวณสันหลังส่วนเอวการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นการแก้ที่สาเหตุของอาการปวดเพราะถ้าผู้ป่วยไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมทั้งการลดน้ำหนักตัวอาการปวดของผู้ป่วยก็มักจะไม่ทุเลาลงและถึงแม้ว่าจะรับการรักษาด้วยการผ่าตัดในที่สุดผู้ป่วยก็จะกลับมามีอาการปวดอีกครั้งหนึ่ง
  • การใช้ยาลดอาการปวด และยาต้านการอักเสบ ชนิดรับประทาน เพื่อบรรเทาอาการปวด
  • การฉีดยาเข้าโพรงประสาทเพื่อลดอาการอักเสบ และอาการปวด โดยการใช้เครื่องอัลตราซาวด์ช่วยในการระบุตำแหน่งที่ฉีดทำให้การฉีดยาเข้าโพรงประสาทมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้นและสามารถทำได้โดยไม่ต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ยาที่ใช้ฉีดเข้าโพรงประสาทสามารถเพื่อลดการอักเสบมีทั้งแบบไม่ใช่สเตียรอยด์ หรือยาสเตียรอยด์ในปริมาณต่ำ ๆ ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย

การพยากรณ์โรคและคำถามสำหรับการฉีดยา : หลังจากฉีดยาแล้วส่วนใหญ่อาการปวดจะบรรเทาลงในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังฉีดยา หลังจากนั้นอาจจะเริ่มมีอาการปวดขึ้นมาอีกครั้งแต่จะเป็นไม่มากเหมือนกับที่ ปวดในช่วงแรก ต่อจากนั้นก็สามารถใช้ยารับประทาน เพื่อควบคุมอาการปวดได้

ส่วนใหญ่หลังฉีดอาการมักจะดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์ ถ้าไม่ดีขึ้นแสดงว่าน่าจะมีหมอนรองกระดูกขนาดใหญ่มากดทับเส้นประสาท ทำให้เส้นประสาทบวมมาก ถ้าไม่ดีขึ้นจริงๆ อาจจะต้องตรวจ MRI เพิ่มเติม เพื่อดูว่าหมอนรองกดมากหรือเปล่า และอาจจะลองฉีดยาซำ้อีก 5-6 ครั้งร่วมกับการปรับยารับประทาน ถ้าไม่ดีขึ้นจริงๆถึงจะพิจารณารักษาดวยการผ่าตัดครับ

การรักษาได้ผลมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับ

  1. โรคที่เป็น ว่ามีการกดทับเส้นประสาทมากน้อยเพียงใด ถ้ากดมาก หรือมีพังผืดไปรัดมากก็ไม่ค่อยได้ผลครับ ถ้าเป็นน้อยก็ได้ผลดี
  2. พฤติกรรมการปฏิบัติตัว ปวดหลัง ป้องกันได้โดยปรับพฤติกรรม
  3. นำ้หนักของผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยมีนำ้หนักมากก็จะทำให้มีผลต่อการเกิดแรงกดที่กระดูกข้อต่อสันหลัง เพิ่มมากขึ้น ทำให้มีอาการปวดและรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นจึงควรลดนำ้หนัก และปฏิบัติตนให้ถูกต้องเพื่อป้องกันการเกิดโรคกระดูกและข้อ

สอบถามปัญหาสุขภาพกระดูกและข้อได้ที่

Line OA: https://lin.ee/swOi91Q หรือ Line ID search @doctorkeng
Website: www.taninnit.com
YouTube: https://www.youtube.com/results?search_query=taninnit+leerapun
Facebook: หมอเก่งไขปัญหาปวดกระดูกและข้อ
Blockdit: https://www.blockdit.com/doctorkeng

Message us

Sanpakoi Clinic ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า