อาการอย่างไรที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็งกระดูก? จะคัดกรองและป้องกันอย่างไร?

อาการอย่างไรที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็งกระดูก ? จะคัดกรองและป้องกันอย่างไร ?

โดย ผศ.นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์

อาการปวดที่กระดูก อาจจะเป็นอาการเริ่มต้นที่พบบ่อยที่สัดของมะเร็งกระดูก อาจจะมีอาการปวดมากตอนกลางคืน อาจจะมีอาการปวดขา ในขณะที่ก้อนมะเร็งโตขึ้นมากๆ ผู้ป่วยอาจจะมีอาการปวดตลอดเวลา และจะปวดมากขึ้นเมื่อทำกิจกรรม
อาจจะมีอาการบวม คลำได้ก้อนในบริเวณที่ปวด
กระดูกหัก สามารถพบได้ในกรณีที่มะเร็งมีการทำลายกระดูกมาก

กระดูกหักที่สะโพก

ถ้าเป็นในตำแหน่งของกระดูกสันหลังถ้ามีการกดทับไขสันหลังหรือเส้นประสาทร่วมด้วยจะทำให้มีอาการปวดหลังมาก มีอาการชา อ่อนแรง ไม่สามารถกลั้นอุจจาระและปัสสาวะได้

มะเร็งที่กระดูกสันหลัง

ถ้ามีอาการมาเป็นระยะเวลานาน ไม่ดีขึ้น ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินอาการ

การตรวจคัดกรองสำหรับมะเร็งกระดูก

1. การตรวจด้วยภาพรังสี x-ray ซึ่งอาจจะพบว่ามีการทำลายกระดูกหรือการสร้างกระดูกที่ผิดปกติจากมะเร็งที่ลุกลามมา

การทำลายกระดูก

2. การตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ตำแหน่งที่เป็น และที่ปอดเพื่อประเมินว่ามะเร็งที่เป็นอยู่นั้นอยู่ในระยะใด ถ้ามีการลุกลามมาที่ปอดก็เป็นระยะที่ 4

3. การตรวจด้วยเครื่องคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI ในตำแหน่งบริเวณที่มีอาการปวด จะช่วยประเมินลักษณะของการทำลายกระดูก และการลุกลามไปยังเนื้อเยื่ออ่อนในบริเวณรอบได้

4. การตรวจสแกนกระดูกทั่วร่างกาย bone scan จะใช้ประเมินว่ามีการลักลามของมะเร็งไปยังตำแหน่งใดบ้าง เช่นถ้าเป็นมะเร็งลุกลามมาที่กระดูก แพทย์จะส่งตรวจ bone scan เพื่อประเมินว่านอกจากตำแหน่งที่ปวดแล้ว ยังมีการแพร่กระจายไปยังตำแหน่งอื่นอีกหรือไม่ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะแพร่กระจายไปยังตำแหน่งของ กระดูกสันหลัง กระดูกอุ้งเชิงกราน กระดูกสะโพก

การตรวจ bone scan

5. การตรวจชิ้นเนื้อในตำแหน่งที่สงสัยว่าเกิดมะเร็ง โดยการนำชิ้นเนื้อในบริเวณที่สงสัยมาตรวจมางพยาธิเพื่อประเมินว่าเป็นเซลมะเร็งชนิดใด

คำแนะนำในการตรวจคัดกรองมะเร็ง

มะเร็งที่พบบ่อยได้แก่ มะเร็งปอด มะเร็งตับ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งเต้านม มะเร็งระบบทางเดินอาหารและลำไส้ การตรวจคัดกรองมะเร็งเหล่านี้นั้นมักจะคัดกรองตามปัจจัยเสี่ยงที่แต่ละคนมี ซึ่งมักจะไม่เหมือนกัน ปัจจัยเสี่ยงหลักๆได้แก่ ปัจจัยทางพันธุกรรม ปัจจัยเสี่ยงจากพฤติกรรม เช่น การดื่มสุรา การสูบบุหรี่ และประวัติการติดเชื้อไวรัสเช่น ในกรณีคนไข้ที่เป็นไวรัสตับอักเสบ B ก็มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งตับที่สูงกว่าคนทั่วไป และสภาพสิ่งแวดล้อม

ดังนั้นการคัดกรองจะขึ้นกับ

1. อายุ

2. ปัจจัยเสี่ยงของแต่ละบุคคลทั้วในด้าน พันธุกรรม ด้านพฤติกรรม และประวัติของโรคประจำตัว เช่น
     2.1 ตรวจคัดกรองส่องกล้องมะเร็งลำไส้ในคนที่อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป
     2.2 ตรวจคัดกรองมะเร็งตับในกลุ่มคนไข้ที่เป็นไวรัสตับอักเสบ B ด้วย การตรวจเลือดและการตรวจด้วย ultrasound
     2.3 การตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากในผู้ป่วยเพศชายด้วยการตรวจต่อมลูกหมากและตรวจเลือดประเมินค่า PSA
     2.4 การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมในเพศหญิงด้วยการตรวจคลำเต้านมด้วยตนเอง เพื่อประเมินว่ามีก้อนหรือไม่

 

 

สอบถามปัญหาสุขภาพกระดูกและข้อได้ที่

Line OA: https://lin.ee/swOi91Q หรือ Line ID search @doctorkeng
Website: www.taninnit.com
YouTube: https://www.youtube.com/results?search_query=taninnit+leerapun
Facebook:หมอเก่งไขปัญหาปวดกระดูกและข้อ
Blockdit: https://www.blockdit.com/doctorkeng

Message us

Sanpakoi Clinic ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า