กระดูกหัก เมื่อไหร่ต้องผ่าตัด ?

กระดูกหัก เมื่อไหร่ต้องผ่าตัด ?

โดย ผศ.นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์

หลายท่านคงเคยมีประสบการณ์ตรงหรือญาติพี่น้องของท่าน เกิดอุบัติเหตุกระดูกหัก แล้วไปโรงพยาบาล แพทย์ก็จะแจ้งว่า กระดูกหัก จะเอาแบบไหนดี ผ่าตัดหรือไม่ผ่าตัด บางครั้งเราก็ตกใจไรู้จะตัดสินใจอย่างไรดี ลองมาดูกันนะครับว่าแบบไหนที่ต้องผ่าตัด

การรักษาของกระดูกหักมี 2 แนวทางคือ การรักษาด้วยการไม่ผ่าตัดใช้วิธีการการใส่เฝือก หรือใส่เหล็กดึงไว้ให้กระดูกติด หรือ รักษาด้วยการผ่าตัดกระดูก แบบนี้จะรักษาอย่างไรดี

เราลองมาดูกันนะครับว่าในกรณีที่เกิดกระดูกหัก การรักษาด้วยการผ่าตัดจะมีประโยชน์อย่างไร เมื่อไหร่ต้องทำการรักษาด้วยการผ่าตัด และด้วยเหตุผลที่ผ่าคืออะไร

วัตถุประสงค์ของการผ่าตัดเพื่อ

  1. เรียงกระดูกให้เข้าที่ และสามารถประสานติดกันได้แนวปกติ ไม่ผิดรูป
  2. ให้สามารถเคลื่อนไหวข้อได้ไวขึ้น สามารถทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูกล้ามเนื้อได้เร็วยิ่งขึ้น
  3. ลดอัตราการตายเข่น ในกรณีที่กระดูกสะโพกหัก

เหตุผลในการผ่าตัดรักษาโรคกระดูกหักได้แก่

  1. กระดูกหักแบบแผลเปิด มีช่องทางติดต่อระหว่างสภาพแวดล้อมภายนอกและตำแหน่งที่เกิดการหักของกระดูก วัตถุประสงค์ของการผ่าตัดเพื่อชำระล้างสิ่งสกปรกที่อยู่บริเวณแผลและเอาเนื้อส่วนที่ไม่ดีออก ลดการติดเชื้อที่จะเกิดตามมมาได้
  2. กระดูกสะโพกหัก มีวัตถุประสงค์ของการผ่าตัดเพื่อให้คนไข้สามารถเคลื่อนไหว เดินได้ไวขึ้นลดภาวะแทรกซ้อนจากการที่ผู้ป่วยต้องนอนนานเช่น การเกิดแผลกดทับ การติดเชื้อปอดบวม การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อในกระแสเลือด กระดูกสะโพกหักพบได้มากในผู้สูงอายุซึ่งจะพบได้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

     3. การหักของกระดูกผ่านผิวข้อและเกิดการเคลื่อนของผิวข้อ เนื่องจากการหักผ่านกระดูกผิวข้อถ้าไม่ผ่าตัดจะทำให้เกิดข้อเสื่อมได้ไวกว่าปกติ เพราะผิวข้อกระดูกอ่อนไม่เรียบ ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของข้อลดลง

     4. การหักของกระดูกแขน 2 ท่อน เนื่องจากกระดูกแขนมี 2 ชิ้น เมื่อเกิดการหักถ้าสามารถผ่าตัดยึดตรึงกระดูกได้ดี ก็จะสามารถทำให้การเคลื่อนไหวของข้อและการหมุนของข้อมือได้ใกล้เคียงกับปกติมากยิ่งขึ้น

     5. การหักของกระดูกในตำแหน่งที่มีกล้ามเนื้อใหญ่มาก เช่นกระดูกขา ที่มีกล้ามเนื้อมากมายเกิดการดึงรั้งทำให้เกิดการิดรูปของกระดูก ดังนั้นเมื่อเราสามารถจัดเรียงแนวกระดูกให้เป็นปกติก็จะช่วยลดความพิการผิดรูป และให้ผู้ป่วยสามารรถเคลื่อนไหวของข้อ และเดินได้ไวขึ้น

6. การหักของกระดูกสันหลังทำให้เกิดการผิดรูปและกดทับไขสันหลัง เส้นประสาท เทื่อมีการกดทับเส้นประสาทหรือไขสันหลังเราผ่าตัดเพื่อเอากระดูกส่วนที่ไปกดทับไขสันหลังหรือเส้นประสาทออก และยึดตรึงกระดูกเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวได้

7. เนื้องอกกระดูก ทำการผ่าตัดเพื่อเอาชิ้นเนื้อไปวินิจฉัยและการวางแผนในการรักษาที่เหมาะสม

     ดังนั้นเมื่อเกิดกระดูกหัก การรักษาตามที่แพทย์ได้แนะนำและตามดุลยพินิจของแพทย์ผู้ทำการรักษาก็จะช่วยให้ท่านสามารถฟื้นตัวได้ไว สามารถกลับมาทำงาน และใช้ชีวิตเป็นปกติได้

สอบถามปัญหาสุขภาพกระดูกและข้อได้ที่

Line OA: https://lin.ee/swOi91Q หรือ Line ID search @doctorkeng
Website: www.taninnit.com
YouTube: https://www.youtube.com/results?search_query=taninnit+leerapun
Facebook: หมอเก่งไขปัญหาปวดกระดูกและข้อ
Blockdit: https://www.blockdit.com/doctorkeng

Message us

Sanpakoi Clinic ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า