ไหล่ติด ปวดไหล่ ขยับไม่ได้ เกิดจากอะไร รักษาอย่างไร?
โดย ผศ.นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์

ผมยกตัวอย่างคนไข้อายุ 50 ปี เริ่มมีอาการปวดไหล่มาได้ประมาณ 2 เดือน อาการเริ่มปวดมากขึ้นเรื่อยๆ ก็ไปรักษาด้วยการนวด หลังจากนวดที่ไหล่แล้วมีอาการปวดระบบมากขึ้น ไม่สามารถยกแขนได้ ไม่สามารถขยับไหล่ได้เลย ถอดเสื้อลำบาก ยกมือ แปรงฟันลำบาก

ผู้ป่วยไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อไหล่ได้ เนื่องจากมีอาการปวด และขอไหล่ยึดติด

สาเหตุที่ทำให้เกิดการปวด

เนื่องจากเกิดการอักเสบในตำแหน่งของกระดูกข้อต่อ เส้นเอ็น เเละเนื้อเยื่ออ่อนรอบข้อ ผู้ป่วยที่มีปัญหาข้อไห่ลติดทุกทิศทาง ต้องจำแนกให้ได้ว่าสาเหตุเกิดจากอะไรบ้างได้แก่

1.คนไข้ที่มีปัญหาที่ไหล่โดยตรงเช่น เส้นเอ็นฉีกขาด ก้อนหินปูนในเส้นเอ็นที่ข้อไหล่ ถุงน้ำอักเสบที่ข้อไหล่

ก้อนหินปูนที่ไหล่

2. โรคที่เกิดนอกข้อไหล่แต่ส่งผลกระทบทำให้ข้อไหล่ติด เช่น คนไข้เส้นเลือดสมองตีบทำให้เกิดอัมพาต คนไข้เบาหวาน คนไข้โรคหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง ซึ่งก็เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการไหล่ติด

ปัญหาข้อไหล่ติด ที่เกิดจากกระบวนการอักเสบของข้อไหล่โดยไม่ทราบสาเหตุ ส่วนใหญ่มักเกิดในเพศหญิง อายุ 40-60 ปี ซึ่งคนไข้มักจะมีอาการปวดบริเวณรอบๆข้อไหล่ และต้นแขนส่วนบน เมื่อขยับไหล่หรือแขนมักจะทำให้มีอาการปวดเพิ่มมากขึ้น อาการปวดมักจะเป็นตลอดเวลา

การเคลื่อนไหวของข้อไหล่ลดลงไม่สามารถขยับข้อไหล่ได้มาก ส่งผลรบกวนต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก เช่น การยกมือหวีผม การสวมใส่ชุดชั้นใน การสวมใส่เสื่อยืดลำบาก

ระยะของไหล่ติดจะมีอยู่ 3 ระยะ ได้แก่

  • ระยะเริ่มแรก ที่เกิดการอักเสบของข้อไหล่ที่อาจจะเกิดจากก้อนหินปูนหรือไม่ทราบสาเหตุ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดมาก ยิ่งเมื่อเกิดการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ยิ่งมีอาการปวดในทุกทิศทางของการเคลื่อนไหว ข้อไหล่เริ่มมีการติด ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เหมือนปกติ
  • ระยะข้อไหล่ติด อาการปวดจะเริ่มทุเลาลง แต่ปัญหาที่ตามมาคือเกิดการยึดติดของข้อไหล่ทุกทิศทาง ไม่สามารถเคลื่อนไหวของข้อไหล่ได้
  • ระยะที่ 3 เป็นระยะที่เริ่มมีการคลายตัวของข้อไหล่ ข้อไหล่เริ่มขยับได้ดีมากขึ้น

การวินิจฉัย

  • การตรวจร่างกายเพื่อประเมินการเคลื่อนไหวของข้อไหล่
  • การตรวจด้วย x ray เพื่อประเมินสภาพของกระดูกข้อไหล่
  • การตรวจด้วย ultrasound เพื่อประเมินสภาพของเส้นเอ็น และลักษณะการอักเสบภายในข้อ
การตรวจ Ultrasound ที่ไหล่
ก้อนหินปูนในไหล่
เส้นเอ็นไหล่ขาด

การรักษา

  • การรับประทานยาแก้ปวด ลดการอักเสบ
  • การฉีดยาลดการอักเสบเฉพาะที่ที่บริเวณข้อไหล่
  • การฉีดยาเข้าไปเพื่อช่วยขยายข้อไหล่เพื่อยืดแคปซูลและเนื้อเยื่ออ่อนในข้อไหล่
  • การประคบเย็นเพื่อลดการอักเสบ
  • การทำกายภาพบำบัด ไม่แนะนำให้ทำในช่วงระยะแรกของโรคที่มีการอักเสบมาก เพราะยิ่งทำการเคลื่อนไหวข้อมาก คนไข้ยิ่งมีอาการปวดมากขึ้น จะทำเมื่อเข้าสู่ระยะที่ 2 หรือระยะที่ 3 เพื่อเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อไหล่

การพยากรณ์โรค

  • อาการไหล่ติดส่วนใหญ่ใช้ระยะเวลรักษาค่อนข้างนาน ประมาณ 12-18 เดือน

ช่องทางการติดต่อ
Line: https://lin.ee/swOi91Q หรือ Line ID Search @Doctorkeng
Website: www.taninnit.com
YouTube: www.youtube.com/user/taninniitleerapun/videos
Facebook: หมอเก่งไขปัญหาปวดกระดูกและข้อ
Blockdit: www.blockdit.com/doctorkeng

Message us

Sanpakoi Clinic ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า