เกาท์ เป็นสาเหตุที่สำคัญของปัญหาไตวายเรื้อรังในเพศชาย

เกาต์สาเหตุสำคัญ ปัญหาไตวายเรื้อรัง ในเพศชาย

เกาท์ เป็นสาเหตุที่สำคัญของปัญหาไตวายเรื้อรังในเพศชาย

โดย ผศ.นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์

เกาท์ (gout) เป็นสาเหตุที่สำคัญของปัญหาไตวายเรื้อรังในเพศชาย หลายคนชะล่าใจ ว่าเป็นเก๊าท์ ถ้าไม่ปวดก็ไม่ต้องรักษา หรือ ป้องกัน บางคนเป็นแล้วรักษาอาการปวดดีแล้ว ก็ไม่รักษาติดตามต่อ ปัญหาคือ มันมีผลต่อไต

เกาต์ คือโรคที่ทำให้เกิดการอักเสบตามข้อต่างๆของร่างกาย โดยเฉพาะเพศชาย

ตำแหน่งที่พบบ่อยคือหัวแม่เท้า ส้นเท้า ข้อเท้า ข้อเข่า และข้อศอก ซึ่งอาการกำเริบของเก๊าท์นั้นจะมีการอักเสบอย่างเฉียบพลันทำให้ปวดมาก ไม่สามารเดินลงน้ำหนักได้ ขยับก็มีอาการปวด มักจะเกิดหลังจากการดื่มแอลกอฮอล์ หรือรับประทานอาหารประเภทสัตว์ปีก เช่น เป็ด ไก่ ยอดผัก เช่น หน่อไม้

เก๊าท์กำเริบที่หัวแม่เท้า

สิ่งที่อันตรายในผู้ป่วยโรคเกาต์ ก็คือ เกิดการตกตะกอนของยูริกที่ไต ทำให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรัง พบว่าเพศชายที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังนั้น ประมาณ 60-70% นั้นมีสาเหตุมาจากการเป็นโรคเก๊าท์

สาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยละเลยในการรักษาโรคเกาต์ เพราะหลังจากรักษาโรคเก๊าท์ในระยะที่มีอาการอักเสบเฉียบพลัน เมื่ออาการปวดหายไปแล้ว ผู้ป่วยก็มักจะนึกว่าหายจากโรค ไม่จำเป็นต้องทานยาลดกรดยูริก ทำให้ปริมาณของกรดยูริกในร่างกายมีปริมาณสูง จึงเกิดการตกตะกอนที่ไต ทำให้การทำงานของไตเสียไป ปัญหาคือ ไตวาย

ข้อเท้าอักเสบ

การรักษาโรคเกาท์ แบ่งเป็น 2 ระยะคือ

ในระยะที่มีอาการอักเสบเฉียบพลันและมีอาการปวดมากนั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือ รักษาเพื่อลดการอักเสบ และบรรเทาอาการปวด ซึ่งมักจะให้ยาลดการอักเสบในกลุ่ม NSAIDs เช่น Voltaren, Arcoxia, Celebrex ร่วมกับ colchicine เพื่อบรรเทาอาการปวดในระยะเฉียบลัน ถ้ามีการอักเสบมาก อาจมีการฉีดยาลดการอักเสบร่วมด้วย

ในระยะที่การอักเสบหายไปแล้วประมาณ 2 สัปดาห์ เป็นการรักษาเพื่อลดปริมาณกรดยูริกในร่างกาย ซึ่งจำเป็นที่ต้องใยาเพื่อลดกรดยูริก โดยมีเป้าประสงค์เพื่อให้กรดยูริกในร่างกานน้อยกว่า 6 my/dl ยาลดกรดยูริกมีหลายประเภท คงต้องเลือกให้เหมาะสมกับผู้ป่วยในแต่ละราย

หลังจากรักษาแล้วก็หมั่นติดตาม ตรวจเลือดเพื่อดูผลของการรักษา ในช่วงแรกอาจจะทุก 3 เดือน ถ้าอาการดีขึ้นอาจตรวจทุก 6 เดือน ค่าที่ต้องติดตามคือ

  1. การทำงานของไต BUN, Creatinine
  2. ปริมาณของกรดยูริกในร่างกาย uric acid level
  3. ค่าการอักเสบภายในร่างกาย ESR, CRP

กล่าวโดยสรุปสำหรับผู้ป่วยโรคเกาต์ ถ้ามีการอักเสบ ให้รักษาอาการอักเสบก่อนในระยะ 2 สัปดาห์แรก หลังจากอาการอักเสบหายไปแล้ว ไม่มีอาการปวดแล้วก็มาลดปริมาณยูริกด้วยการรับประทานยาลดการสร้างยูริก หรือยาขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะ เพื่อไม่ให้เกิดการตกตะกอนที่ไต เป้าหมายที่สำคัญของการรักษาในระยะนี้คือ ป้องกันไตวายในอนาคต

ดังนั้นเมื่อท่านเป็นเกาต์แล้ว อย่าได้นิ่งนอนใจว่าไม่ปวด ไม่อักเสบ ไม่มีปัญหา ที่สำคัญคือต้องควบคุมปริมาณของกรดยูริกให้ดี ไม่ให้มีปริมาณสูง ก็จะลดความเสี่ยงต่อร่างกายได้นะครับ


สอบถามปัญหาสุขภาพกระดูกและข้อได้ที่

Line OA: https://lin.ee/swOi91Q หรือ Line ID search @doctorkeng
Website: www.taninnit.com
YouTube: https://www.youtube.com/results?search_query=taninnit+leerapun
Facebook: หมอเก่งไขปัญหาปวดกระดูกและข้อ
Blockdit: https://www.blockdit.com/doctorkeng

Message us

Sanpakoi Clinic ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า