ท่านเคยเห็นคนหลังโก่ง หรือญาติที่รู้จักมีอาการหลังโก่ง
และปวดหลังบ้างหรือไม่
โดย ผศ.นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์
- ในระยะเริ่มต้นที่มวลกระดูกเริ่มลดลงเรื่อยๆ ผู้ป่วยมักจะไม่มีอาการอะไร เลย ส่วนใหญ่มักจะเริ่มต้นในผู้หญิงที่เริ่มหมดประจำเดือน และมีปัจจัยเสี่ยง ช่วงนี้สามารถตรวจสอบได้จากการวัดความหนาแน่นของมวลกระดูกเท่านั้น
- ในระยะที่กระดูกพรุนชนิดรุนแรง คือ มีกระดูกโปร่งบางมาก ร่วมกับมีกระดูกสันหลังหักยุบ หรือการเกิดกระดูกสะโพกหัก ซึ่งผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดหลัง หลังโก่งค่อม และสังเกตได้ว่าส่วนสูงของผู้ป่วยลดลง ในบางครั้งอาการปวดหลังอาจจะร้าวมาที่บริเวณหน้าอก หลังโก่ง ทานข้าวได้น้อยลง อืดท้องแน่นท้อง มักจะพบได้ในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป บางครั้งอาจเกิดกระดูกหักที่ตำแหน่งบริเวณข้อมือ กระดูกหักง่าย ปวดเมื่อยตามร่างกาย เช่นในผู้ป่วยรายที่ผมจะยกตัวอย่างต่อไปนี้ครับ
- กระดูกสันหลังยุบซึ่งก็คือภาวะกระดูกหักนั่นเองจึงเกิดอาการปวด
- เกิดการอักเสบภายในโพรงประสาท เพราะเมื่อเกิดการยุบตัวจะมีสารก่ออักเสบในบนริเวณของกระดูกที่ยุบ และบริเวณรอบ จึงทำให้เกิดอาการปวด
- ให้ผู้ป่วยนอนพัก ลุกเฉพาะตอนเข้าห้องน้ำ หรือทานอาหาร ประมาณ 2-4 สัปดาห์จนกระทั่งอาการปวดดีขึ้น
- ให้ยาแก้ปวด ลดการอักเสบ อย่างไรก็ตามต้องระมัระวังการใช้ยาลดการอักเสบกลุ่ม NSAIDs ในผู้สูงอายุ เนื่องจากอาจจะทำให้เกิดเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร และไตวายได้
- ถ้ามีอาการปวดมากอาจให้การรักษาด้วยการฉีดยาเข้าโพรงประสาทเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวด ลดการอักเสบก่อนได้ ซึ่งยาที่ฉีดลดการอักเสบมีทั้งแบบสเตียรอยด์และไม่ใช่สเตียรอยด์
การตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม
- การตรวจ MRI เพื่อประเมินสภาพของกระดูกว่ามีการกดทับเส้นประสาท มีโรคอื่นร่วมด้วยหรือไม่เช่น การติดเชื้อกระดูกสันหลัง มะเร็งแพร่กระจายมาที่กระดูก
- การตรวจวัดมวลกระดูกเพื่อแประเมินสภาวะกระดูกพรุน ความหนาแน่นของมวลกระดูกว่ามีมากน้อยเพียงใด
- ประจำเดือนหมดวัยกว่าปกติโดยเฉพาะก่อนอายุ 45 ปี
- มีโรคประจำตัวเช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคไทรอยด์เป็นพิษ
- ใช้ยาสเตียรอยด์เป็นประจำในปริมาณมาก และต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ทั้งในการรักษาโรค หรือรับประทานเอง
- มีประวัติครอบครัวทางแม่เคยเป็นโรคกระดูกพรุน หรือเคยมีกระดูกสะโพกหักในครอบครัว โดยเฉพาะครอบครัวฝั่งของมารดา
- สูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอลเป็นประจำ
- กระดูกหักง่ายหลังจากอายุ 40 ปีเช่น กระดูกข้อมือหัก
- ในวัยเด็ก วัยรุ่น ให้ดื่มนม ออกกำลังกายให้เหมาะสม
- หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงเช่น การดื่มสุรา และการสูบบุหรี่
- ในวัยที่อายุมากกว่า 40 ปี ให้ได้รับปริมาณของแคลเซียมให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ซึ่งอาจรับประทานแคลเซียมชนิดเม็ดเช่น caltrate 600 มิลลิกรัม รับประทานวันละ 1 เม็ด ก็จะเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เนื่องจากมีการวิจัยพบว่าโดยเฉลี่ย คนไทยได้ปริมาณแคลเซียมจากอาหารประมาณ 300 – 400 มิลลิกรัม ซึ่งถ้าได้รับแคลเซียมเสริมเข้าไปก็จะทำให้เท่ากับปริมาณพอเพียงที่ร่างกายต้องการ
- ในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 65 ปีแนะนำให้ไปตรวจวัดมวลกระดูกจากเครื่องใหญ่ที่เรียกว่า DEXA (Dual Energy absorptiometry) ซึ่งจะตรวจวัดมวลกระดูก 2 ตำแหน่งคือ ที่บริเวณกระดูกสันหลังส่วนเอว และ กระดูกสะโพก
- ในผู้หญิงที่หมดประจำเดือนร่วมกับมีปัจจัยเสี่ยงแนะนำให้ตรวจวัดมวล กระดูกได้เลย เพื่อประเมินสภาพของมวลกระดูกในขณะนั้นว่าเป็นอย่างไร
- หลังจากที่เราตรวจวัดมวลกระดูกมาแล้ว ไม่ใช่ว่าเมื่อมวลกระดูกติดลบน้อยกว่า – 2.5 จะมีความจำเป็นต้องทานยาป้องกันกระดูกพรุนทุกครั้ง ซึ่งมักจะทำให้เกิดการรักษาโรคกระดูกพรุนมากเกินความจำเป็น (Over-treament)
วัตถุประสงค์ของการให้ยารักษาโรคกระดูกพรุน คือ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกระดูกหักในอนาคต หรือลดความเสี่ยงของการเกิดกระดูกหักในอนาคต ซึ่งเราจำเป็นต้องมีการคำนวณความเสี่ยงของการเกิดกระดูกหักในอนาคตของผู้ ป่วยในแต่ละราย
- กระดูกตำแหน่งที่สำคัญหัก มีโอกาสหักมากกว่าร้อยละ 20 หรือ
- กระดูกสะโพก มีโอกาสหักมากกว่าร้อยละ 3 จึงจะพิจารณาในการให้ยาในการรักษาโรคกระดูกพรุน ซึ่งถ้ามีค่าน้อยกว่านี้ก็ไม่มีความจำเป็นต้องรับประทานยารักษาโรคกระดูกพรุน
สำหรับปัจจุบัน ยาที่ใช้รักษาผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนจะมีอยู่ 2 ประเภท คือ
- ยาที่ยับยั้งการทำลายกระดูก เช่น ยาในกลุ่ม Bisphosphonates ที่มีหลากหลายชนิดเช่น ชนิดที่รับประทานอาทิตย์ละ 1 เม็ดเช่น Alendronate (Fosamax plus), Risedronate (Actonel), หรือชนิดที่ฉีดปีละ 1 ครั้งเช่น Zoledronate (Aclasta) ยาในกลุ่มที่เป็นแอนติบอดี้ มีผลยับยั้งการทำลายกระดูกที่ระดับเซลล์ ได้แก่ Denosumab (Prolia) ซึ่งใช้ฉีดใต้ผิวหนังทุกๆ 6 เดือน
- ยาที่กระตุ้นการสร้างกระดูก ซึ่งมีผลในการสร้างกระดูกโดยตรง ได้แก่ teriparatide มีข้อบ่งชี้ในผู้ป่วยที่มีกระดูกหักหลายตำแหน่ง เช่น กระดูกสันหลังยุบมากกว่า 2 ตำแหน่ง กระดูกสะโพกหัก หรือเช่นในผู้ป่วยรายที่ยกตัวอย่างข้างต้น ที่มีกระดูกสันหลังยุบมากกว่า 2 ตำแหน่ง ยานี้ใช้ฉีดใต้ผิวหนังทุกวัน นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ในการลดปวดหลังได้ด้วย
Line OA: https://lin.ee/swOi91Q หรือ Line ID search @doctorkeng
Website: www.taninnit.com
YouTube: https://www.youtube.com/results?search_query=taninnit+leerapun
Facebook: หมอเก่งไขปัญหาปวดกระดูกและข้อ
Blockdit: https://www.blockdit.com/doctorkeng