ปวดคอ เพราะใช้งานโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์มากเกินไป

ปวดคอ เพราะใช้งานโทรศัพท์ และคอมพิวเตอร์มากเกินไป !!

ปวดคอ เพราะใช้งานโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์มากเกินไป !!

โดย ผศ.นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์

อาการปวดต้นคอ ปวดบ่า ปวดไหล่มักเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยในยุคปัจจุบัน สาเหตุหนึ่งเนื่องจากการก้มงานใช้มือถือ หรือทำงานกับคอมพิวเตอร์มากเกินไปจนทำให้เกิดการล้าของกล้ามเนื้อบริเวณคอ 

อีกสาเหตุหนึ่งที่พบได้บ่อยคือการเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลังบริเวณคอทำให้เกิดการเสื่อมของกระดูกข้อต่อในบางครั้งอาจจะเกิดการเคลื่อนของหมอนรองกระดูกและกดทับเส้นประสาท ทำให้มีอาการปวดคอ ปวดสะบัก ร่วมกับอาการชาร้าวลงไหล่และแขน อาการปวดจะเป็นมากขึ้นเมื่อต้องยกของหนัก นั่งขับรถ หรือใช้คอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน ทำให้เกิดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ บางครั้งอาจจะมีอาการปวดศีรษะร่วมด้วย  

อาการอย่างไรจึงควรพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและการรักษา

1.เมื่อมีอาการปวดอย่างรุนแรง และเป็นระยะเวลานาน โดยอาการไม่บรรเทาลง
2.มีอาการปวดร้าวสะบัก และร้าวลงแขน
3.มีอาการชา และอ่อนแรงร่วมด้วย
4.มีอาการปวดศีรษะร่วมด้วย

สาเหตุ   

1.กล้ามเนื้อเกร็งตัวมากผิดปกติ ทำให้เกิดการล้าของกล้ามเนื้อ
2.ข้อต่อและหมอนรองกระดูกคอเสื่อม
3.มีการเคลื่อนของหมอนรองกระดูกสันหลังไปกดทับรากประสาทที่บริเวณคอ
4.มีโรคบางโรคร่วมด้วย เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือมะเร็ง  

บทความโดย ผศ.นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์ หมอเก่ง ไขปัญหาปวดกระดูกและข้อ คลินิครักษา ปวดหลัง ปวดกระดูก กระดูกและข้อ เชียงใหม่
บทความโดย ผศ.นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์ หมอเก่ง ไขปัญหาปวดกระดูกและข้อ คลินิครักษา ปวดหลัง ปวดกระดูก กระดูกและข้อ เชียงใหม่
หมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทบริเวณคอ
บทความโดย ผศ.นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์ หมอเก่ง ไขปัญหาปวดกระดูกและข้อ คลินิครักษา ปวดหลัง ปวดกระดูก กระดูกและข้อ เชียงใหม่
บทความโดย ผศ.นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์ หมอเก่ง ไขปัญหาปวดกระดูกและข้อ คลินิครักษา ปวดหลัง ปวดกระดูก กระดูกและข้อ เชียงใหม่
หมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทบริเวณคอ

การป้องกันอาการปวดคอ  

สาเหตุส่วนใหญ่ของอาการปวดต้นคอสัมพันธ์กับลักษณะของท่าทาง และการใช้งานที่มากเกินไป ร่วมกับอายุที่เพิ่มมากขึ้น การป้องกันที่ดีที่สุดคือการพยายามตั้งคอให้ตรง ให้อยู่ตรงศูนย์กลางของกระดูกสันหลัง ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน  

1. คงสภาพท่าทางการใช้คออย่างเหมาะสม เมื่อเรายืนหรือนั่งให้แนวของไหล่เป็นแนวขนานกับแนวของหูทั้ง 2 ข้าง  

Screenshot 2020-12-09 094239

นั่งให้แนวของไหล่เป็นแนวขนานกับแนวของหูทั้ง 2 ข้าง

2. ถ้าทำงานเป็นเวลานานก็ควรหยุดพักบ้าง ถ้าเราเดินทางไกล ใช้คอมพิวเตอร์ หรือทำงานเป็นระยะเวลานาน ให้สลับปรับเปลี่ยนท่าทาง ยืดกล้ามเนื้อไหล่และกล้ามเนื้อคอ

Screenshot 2020-12-09 092628

ยืดกล้ามเนื้อไหล่ และกล้ามเนื้อคอ

3. ปรับโต๊ะทำงาน เก้าอี้ คอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม โดยให้จอคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับเดียวกันกับระดับสายตา เก้าอี้ที่นั่งควรจะมีพี่พักแขนด้วย

การนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์-768x403-removebg-preview

ปรับโต๊ทำงาน เก้าอี้ คอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม

4. เมื่อใช้โทรศัพท์พยายามหลีกเลี่ยงท่าที่ใช้ไหล่หนีบโทรศัพท์กับหู ถ้าต้องพูดเป็นระยะเวลานานก็ควรใช้หูฟังช่วย

Screenshot 2020-12-09 100931

ใช้โทรศัพท์ให้เหมาะสม

5. หยุดการสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่จะทำให้มีอาการปวดคอเพิ่มมากขึ้น

Screenshot 2020-12-09 101224

หยุดการสูบบุหรี่

6. หลีกเลี่ยงการใช้กระเป๋าเป้ที่หนัก เพราะน้ำหนักของกระเป๋าที่มากเกินไปจะทำให้เกิดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อบริเวณคอ

ใช้กระเป๋าเป้ไม่ให้ปวดหลัง_003-768x402

หลีกเลี่ยงการใช้กระเป๋าเป้ที่หนักเกินไป

7. การนอนควรนอนในท่าที่ถูกต้องคือ นอนหงายให้คอขนานกับแนวแกนของร่างกาย ใช้หมอนเล็กๆหนุนคอ ใช้หมอนรองใต้เข่าเพื่อให้กล้ามเนื้อหลังคลายตัวจะได้ไม่ปวดหลัง

Screenshot 2020-12-09 101737

นอนในท่าที่ถูกต้อง

ถ้ามีอาการปวดมากหลังจากปรับพฤติกรรมแล้วควรจะพบแพทย์ ซึ่งแพทย์จะทำการตรวจร่างกาย ตรวจด้วยภาพเอกซเรย์เพื่อประเมินสภาพของกระดูกและหมอนรองกระดูกบริเวณคอ ถ้ามีความสงสัยมากว่ามีการกดทับเส้นประสาทมากน้อยเพียงใดอาจจะต้องตรวจคอด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เรียกว่า MRI

การรักษา  

1.รับประทานยาลดปวด ลดอักเสบ คลายกล้ามเนื้อ
2.ฉีดยาบล็อกเส้นประสาทเพื่อลดการอักเสบบริเวณรากประสาทที่คอโดยการใช้เครื่องเสียงความถี่สูงหรือ Ultrasound ในการระบุตำแหน่งที่ฉีดยา
3.การปรับพฤติกรรมที่เหมาะสมดังที่กล่าวข้างต้น  

มากกว่าร้อยละ 90 ของผู้ป่วยสามารถรักษาได้ด้วยวิธีดังกล่าวข้างต้น มีน้อยมากที่จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด ระยะเวลาในการรักษาส่วนใหญ่ประมาณ 6-8 เดือน

สอบถามปัญหาสุขภาพกระดูกและข้อได้ที่
Line OA: https://lin.ee/swOi91Q หรือ Line ID search @DoctorKeng

Website: www.taninnit.com
YouTube: https://www.youtube.com/results?search_query=taninnit+leerapun
Facebook: หมอเก่งไขปัญหาปวดกระดูกและข้อ
Blockdithttps://www.blockdit.com/doctorkeng

Message us

Sanpakoi Clinic ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า