ปวดไหล่-การฉีดนำ้หล่อเลี้ยงข้อเทียมบริเวณไหล่

 

ปวดไหล่-การฉีดนำ้หล่อเลี้ยงข้อเทียมบริเวณไหล่
ผศ.นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์

อาการปวดไหล่
ปวดไหล่ ปวดร้าวลงต้นแขน ยกไหล่ไม่ขึ้น เอื้อมแขนแล้วมีอาการปวดไหล่ โดยเฉพาะเวลาบิดหมุนข้อไหล่ อาการปวดไหล่มักจะมีอาการแย่ลง และปวดเพิ่มมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ อาการปวดมักจะเริ่มมีอาการปวดบริเวณหัวไหล่ และร้าวไปยังบริเวณต้นแขน โดยเฉพาะคุณสุภาพสตรี อาจจะมีอาการปวดบริเวณหัวไหล่เมื่อหมุนไหล่ในการใส่เสื้อชุดชั้นใน หรือเสื้อยืด

สาเหตุ
มักเกิดจากปัญหาที่เส้นเอ็นบริเวณไหล่ซึ่งเป็นได้ทั้งเกิดจากกระบวนการอักเสบ การเสื่อมของเส้นเอ็น การฉีกขาดของเส้นเอ็น หรือมีหินปูนแล้วทำให้เกิดการอักเสบในเส้นเอ็น บางครั้งอาจจะเกิดจากเนื้องอกของกระดูกที่บริเวณไหล่ซึ่งพบได้ไม่มาก

การวินิจฉัย
การวินิจฉัยที่ถูกต้อง สามารถทราบพยาธิสภาพของไหล่ว่าอาการปวดเกิดจากสาเหตุใดเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ปัจจุบันการวินิจฉัยผู้ป่วยที่มีอาการปวดไหล่ง่ายสุดคือ การตรวจไหล่ด้วยเครื่องคลื่นเสียงความถี่สูง หรือที่เรียกว่า Ultrasound ซึ่งเป็นเครื่องคลื่นเสียงความถี่สูงที่ใช้สำหรับตรวจกล้ามเนื้อเส้นเอ็น ทำให้เราสามารถเห็นพยาธิสภาพต่างๆได้ เช่น การเสื่อมของเส้นเอ็น การฉีกขาดของเส้นเอ็น การอักเสบ รวมทั้งภาวะหินปูนที่ก่อให้เกิดเส้นเอ็นอักเสบ

การถ่ายภาพทางรังสีที่บริเวณหัวไหล่จะช่วยทำให้แพทย์สามารถแยกพยาธิสภาพที่กระดูกได้เช่น เนื้องอกกระดูก มะเร็งลุกลามมาที่กระดูก และบางครั้งอาจจะช่วยในการวินิจฉัยภาวะหินปูนที่เส้นเอ็นในบริเวณไหล่ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดไหล่มาก

การรักษา

  • การรักษาด้วยยารับประทานเพื่อลดการอักเสบ และยาลดอาการปวด
  • การฉีดยาด้วยยาลดการอักเสบ และ นำ้หล่อเลี้ยงข้อเทียม Hyaluronic acid นับว่ามีประโยชน์เป็นอย่างมาก ในการลดการอักเสบ ทำให้การเคลื่อนไหวของข้อไหล่ดีขึ้น และยังช่วยในการสมานของเส้นเอ็น ทำให้ผู้ป่วยหายทรมานจากอาการเจ็บปวด อย่างไรก็ตามการฉีดยาลดการอักเสบและ นำ้หล่อเลี้ยงข้อเทียมนี้ต้องใช้เครื่องคลื่นเสียงความถี่สูงในการระบุตำแหน่งในการฉีดยา มิฉะนั้นถ้าฉีดไม่ถูกตำแหน่ง จะทำให้ยาไปอยู่ที่บริเวณของกล้ามเนื้อ ยิ่งจะทำให้มีอาการปวดมากยิ่งขึ้น
  • ในช่วงแรกที่มีการอักเสบมาก และผู้ป่วยมีอาการปวดอย่างมาก ยังไม่แนะนำให้ผู้ป่วยทำกายภาพบำบัด เพราะจะทำให้มีการอักเสบ และอาการปวดเพิ่มมากขึ้น
  • ปัจจุบันการใช้เกร็ดเลือดเข้มข้น PRP เพื่อลดการอักเสบและสร้างเสริมสภาพเส้นเอ็นก็มีประโยชน์มากในการรักษา (ดูข้อมูล PRP คืออะไร)

ข้อห้าม! เมื่อมีอาการปวดไหล่

  • นวด เพราะการนวดจะทำให้เกิดการอักเสบมากยิ่งขึ้น
  • การแกว่งไหล่ เพราะการแกว่งไหล่มาก หรือยกไหล่สูงมากกว่า 90 องศา จะทำให้เกิดการเสียดสีของเส้นเอ็นและกระดูกมากขึ้น ยิ่งจะทำให้เส้นเอผ้นเกิดการฉีกขาดมากยิ่งขึ้น

ผศ.นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์
Line ID: @doctorkeng

Message us

Sanpakoi Clinic ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า