PRP คืออะไร? ใช้รักษาอะไรได้บ้าง? แบบไหนใช้แล้วไม่ได้ผล?
โดย ผศ.นพ.ธนินนิตย์ ลีรพันธ์
ถามกันบ่อย PRP คืออะไร? ใช้รักษาอะไรได้บ้าง? แบบไหนใช้แล้วไม่ได้ผล?
PRP หรือ Platelet-Rich Plasma คือ เทคโนโลยีทางการแพทย์ ด้วยการนำเอาเลือดของคนไข้เองมารักษา การรักษาแบบ PRP นี้ มีใช้อยู่แล้วในทางทันตกรรมและศัลยกรรมกระดูก ซึ่งเลือดจะประกอบด้วยเม็ดเลือดแดง เกล็ดเลือด และส่วนของเหลว ที่เรียกกันว่า “พลาสมา” ส่วนสำคัญของกระบวนการรักษา โดย PRP นั้น คือเกล็ดเลือด เพราะในเกล็ดเลือดมีสารที่เรียกว่า Growth Factor ซึ่งเป็นสาร กระตุ้นการเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
PRP นำมาใช้รักษาโรคอะไรได้บ้าง

PRP
- รักษาเรื่องการเสื่อมสภาพในระยะเริ่มต้น โดยจะมีส่วนในการลดอาการปวด ลดการอักเสบเช่น กระดูกอ่อนผิวข้อในโรคข้อเสื่อม
- สภาวะของเส้นเอ็นเสื่อมสภาพ (tendinosis) เช่น เส้นเอ็นที่ข้อไหล่ (rotator cuff disease) เส้นเอ็นที่ข้อศอก (tennis elbow)
- ภาวะของพังผืดฝ่าเท้าอักเสบ
- ภาวะกล้ามเนื้อได้รับบาดเจ็บ

ใช้ในไหล่ เข่า ข้อศอก
คนไข้กลุ่มไหนบ้างที่ไม่เหมาะจะใช้ PRP
1. ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมที่เป็นระยะที่ 3-4 เมื่อตรวจเอกซเรย์แล้วพบว่าผิวข้อกระดูกมาชนกัน

ข้อเสื่อมที่ไม่เหมาะแก่การทำ PRP เนื่องจากผิวข้อถูกทำลายไปมาก
2. ผู้ป่วยที่มีเส้นเอ็นฉีกขาดแยกออกจากกัน

เส้นเอ็นไหล่ฉีกขาด
กระบวนการทำงานเมื่อฉีด PRP เข้าไปในบริเวณที่ต้องการรักษา Growth Factor ในเกล็ดเลือด PRP เป็นสารสำคัญที่ไปกระตุ้นให้เซลล์เกิดการเติบโตเร็วขึ้น เพื่อรักษาโรคและช่วยให้มีการสร้างเนื้อเยื่อขึ้นมาใหม่ ได้แก่ โรคข้อเข่าเสื่อม โรคปวดไหล่จากเส้นเอ็นฉีกขาด โรคปวดข้อศอก เป็นต้น
กระบวนการของ PRP (Platelet-Rich Plasma)

กระบวนการทำ PRP
- ดูดเลือดจากร่างกายของผู้ที่รับการรักษา
- นำเลือดมาปั่นแยกเกล็กเลือด และสารช่วยสร้างเนื้อเยื่อ (Growth Factors)
- นำมากระตุ้นเพื่อให้เกิดการทำงานของเกล็ดเลือด
- นำเกล็ดเลือดเข้มข้นไปฉีดในส่วนที่มีปัญหา
เทคนิคการฉีดด้วยความแม่นยำถูกตำแหน่งรอยโรคที่แน่นอน
เราจะใช้เครื่อง UltraSound มาช่วยเป็นเครื่องชี้นำ บ่งบอกถึงบริเวณตำแหน่งที่จะฉีด PRP ทำให้การฉีด PRP มีความแม่นยำมากขึ้น (ตามภาพตัวอย่างด้านล่าง)

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดพลาสมาที่มีเกล็ดเลือดสูง
- หลังจากฉีด PRP ผู้ป่วยอาจมีอาการชา บริเวณที่ฉีดหรือบริเวณใกล้เคียงได้ ประมาณ 1-2 ชั่วโมงแรก และอาจมีอาการปวดหลัง จากฉีด PRP ประมาณ 1-2 วัน หลังจากนั้นอาการปวดจะค่อยๆ ดีขึ้น
- ถ้ามีอาการปวดควรประคบเย็นบริเวณที่ฉีด PRP 2-3 วัน หรือ ทานยาแก้ปวด ตามแพทย์สั่ง ถ้ายังมีอาการปวดมาก หลังจาก 4-5 วัน ควรปรึกษาแพทย์
- กรุณางดใช้ยากลุ่มต้านการอักเสบ เช่น Ibuprofen หรือ Aspirin เป็นเวลา 3 วันหลังฉีด PRP
- รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง
- ข้อควรพิจารณาหลังฉีด PRP
- หลังการฉีดแล้วจำเป็นต้องสังเกตดูอาการของผู้ป่วยเป็นเวลา 15 นาที ก่อนให้กลับบ้านได้ หากมีอาการแดงช้ำบริเวณรอยเข็มฉีด ให้ประคบเย็นไว้ประมาณ 6-8 ชั่วโมง โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบหากมีอาการดังต่อไปนี้
- อาการเลือดออก รอยช้ำใหม่ หรือบวมผิดปกติในบริเวณที่ฉีด
- อาการติดเชื้อ เช่น มีรอยแดง มีน้ำเหลืองออก หรือมีไข้ขึ้น ข้อห้ามฉีด ร่างกายมีการติดเชื้อ เกร็ดเลือดต่ำ เป็นมะเร็ง คนท้อง หรือให้นมลูก
- แจ้งแพทย์ทุกครั้ง ถ้าท่านแพ้ยาชา
- ผู้ซึ่งมีการทานยาในกลุ่มแก้อักเสบ(NSAID’s) เช่น Brufen,Voltaren,Arcoxia ,Celebrex เป็นต้น ควรแนะนำให้หยุดยากลุ่มนี้ก่อน 7 วัน
สอบถามปัญหาสุขภาพกระดูกและข้อได้ที่
Line OA: https://lin.ee/swOi91Q หรือ Line ID search @doctorkeng
Website: www.taninnit.com
YouTube: https://www.youtube.com/results?search_query=taninnit+leerapun
Facebook: หมอเก่งไขปัญหาปวดกระดูกและข้อ
Blockdit: https://www.blockdit.com/doctorkeng